Header Ads

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเปราะบางและไม่แน่นอน แต่ภาคอุตสาหกรรมไทยยังมีโอกาสให้รีบคว้าท่ามกลางโลกแบ่งขั้ว


-

เรียน  ท่านสื่อมวลชน

 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC ขอนำส่งข่าว  เรื่อง  เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเปราะบางและไม่แน่นอน แต่ภาคอุตสาหกรรมไทยยังมีโอกาสให้รีบคว้าท่ามกลางโลกแบ่งขั้ว มาเพื่อโปรดพิจารณา และขอขอบพระคุณในความอนุเคราะห์นำเสนอข่าวสารของธนาคารด้วยดีเสมอมา

 

ขอแสดงความนับถือ

ทีมประชาสัมพันธ์ ธนาคารไทยพาณิชย์

 

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเปราะบางและไม่แน่นอน แต่ภาคอุตสาหกรรมไทยยังมีโอกาสให้รีบคว้าท่ามกลางโลกแบ่งขั้ว

 

เศรษฐกิจโลกในปี 2567 และ 2568 มีแนวโน้มเติบโตใกล้เคียงกันที่ 2.7% ซึ่งยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด โดยมุมมองเศรษฐกิจในปี 2567 SCB EIC มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้นเนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเติบโตดี จีนปรับดีขึ้นเช่นกันจากภาคการผลิตและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อินเดียและอาเซียนขยายตัวดี ขณะที่ยูโรโซนและญี่ปุ่นเติบโตต่ำ สำหรับปี 2568 แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไป อาเซียนจะมีแนวโน้มเติบโตเร่งขึ้น อินเดียยังเติบโตสูงแม้จะชะลอเล็กน้อย ญี่ปุ่นและยูโรโซนฟื้นตัวดีขึ้นแต่ไม่สดใสนัก ขณะที่สหรัฐฯ จะมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และจีนจะเติบโตต่ำลงจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ในระยะปานกลางเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาเชิงโครงสร้างของจีนและประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ ความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาลแต่ละประเทศจะปรับสูงขึ้นจากผลการเลือกตั้งเกือบทั่วโลกในปีนี้ โดยเฉพาะผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มจะสร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจและนโยบายการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลกตามมา

ธนาคารกลางหลักหลายแห่งเริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง เช่น ECB และ BOC ขณะที่ Fed และ BOE จะเริ่มผ่อนคลายดอกเบี้ยลงเช่นเดียวกันในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งเป็นช่วงที่ BOJ มีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหลัง BOJ ได้ปรับขึ้นคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลาง

SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะทยอยฟื้นตัวไม่สูงนักที่ 2.5% โดยมีแรงส่งจากภาคบริการตามการฟื้นตัวได้ดีของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากการออกมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มเติม ทั้งมาตรการฟรีวีซ่าและ VOA รวมถึงการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน อีกทั้ง การท่องเที่ยวในประเทศยังเติบโตดี โดยจังหวัดเมืองรองมีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ ขณะที่องค์ประกอบของเศรษฐกิจไทยยังมีแรงกดดันจาก (1) การส่งออกสินค้าที่จะขยายตัวจำกัดส่วนหนึ่งเพราะการส่งออกไทยเริ่มฟื้นตัวไม่สอดคล้องกับปริมาณการค้าโลกมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเหล็ก ผลไม้ และ HDD ที่จะหดตัวในปีนี้ (2) ภาคการผลิตที่จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยมีแรงกดดันทั้งปัจจัยภายนอกจากสินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดเนื่องจากจีนมีปัญหา Overcapacity ในประเทศ รวมถึงปัจจัยภายในจากอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มมีสัญญาณแผ่วลง และ (3) การลงทุนภาครัฐที่แม้จะกลับมาเร่งตัวจากการเร่งรัดเบิกจ่ายหลัง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2567 ล่าช้ากว่าครึ่งปี แต่จะไม่สามารถชดเชยการหดตัวรุนแรงในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ได้ สำหรับในปี 2568 เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่องที่ 2.9% ส่วนหนึ่งจากการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการเบิกจ่ายภาครัฐที่กลับมาเป็นปกติ

มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยเผชิญความเปราะบางมากขึ้นทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดย (1) ภาคครัวเรือน : กลุ่มคนรายได้น้อยขาดกันชนทางการเงินที่เพียงพอในระยะข้างหน้า เช่น เงินสำรองฉุกเฉินและประกันความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ (2) ภาคธุรกิจ : แม้โดยรวมมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่บางกลุ่มยังเปราะบางค่อนข้างมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่มีหนี้สูงมากขึ้น ท่ามกลางปัญหาโครงสร้างของภาคการผลิตไทย SCB EIC ประเมินว่า แม้จะมีมาตรการการเงินเน้นช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางภาคครัวเรือนและธุรกิจมากขึ้น แต่ยังต้องใช้เวลากว่ามาตรการจะเห็นผลในวงกว้าง

SCB EIC มีมุมมองว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้งปลายปี 2567 เหลือ 2.25% และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2% ในช่วงต้นปี 2568 จากแรงส่งอุปสงค์ในประเทศในระยะข้างหน้าที่อาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากฐานะครัวเรือนที่ยังเปราะบางและปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยังมีอยู่ รวมถึงภาวะการเงินตึงตัวที่จะส่งผลกระทบชัดเจนขึ้น และความเสี่ยงเศรษฐกิจในปีหน้าที่จะปรับเพิ่มขึ้น สำหรับค่าเงินบาทผันผวนสูงต่อเนื่องจากปัจจัยการเมืองในประเทศ และแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่ช้าลงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเริ่มออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ตลาด ในระยะสั้นคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าในกรอบ 35.80-36.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยจะทยอยแข็งค่าขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย สำหรับ ณ สิ้นปี 2567 มองเงินบาทจะแข็งค่าในกรอบ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์จะสร้างความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นในโลก และยิ่งเร่งโลกแบ่งขั้ว (Decoupling) แต่จะเป็นโอกาสของภาคอุตสาหกรรมไทยได้ SCB EIC ประเมินว่า รูปแบบการค้าโลกกำลังจะเปลี่ยนไป เนื่องจากกลุ่มประเทศที่มีขั้วเศรษฐกิจต่างกันจะพึ่งพาการค้ากันลดลง และหันมาพึ่งพาประเทศที่มีบทบาทเป็นกลาง (Neutral stance) มากขึ้น ประเทศไทยซึ่งรักษาบทบาทเป็นกลางในเกมภูมิรัฐศาสตร์โลกจะได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้าและการลงทุน (Trade and investment diversion) จากกลุ่มประเทศที่แบ่งขั้วกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมไทยจะได้รับผลกระทบต่างกันใน 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ เช่น คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และส่วนประกอบ (2) กลุ่มที่มีความเสี่ยงทั้งจากผลกระทบที่สหรัฐฯ หันไปนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่แข่งในภูมิภาคมากขึ้น หรือมีการแข่งขันรุนแรงกับประเทศที่เป็นกลางอื่น ๆ เช่น สิ่งทอ และอุปกรณ์ไฟฟ้า

ไทยจะคว้าโอกาสท่ามกลางโลกแบ่งขั้วรุนแรงขึ้นได้ ต้องมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกและการปรับตัวธุรกิจเชิงรุก ซึ่งจะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของสินค้าแต่ละประเภทที่อาจได้หรือเสียประโยชน์แตกต่างกัน แบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตเก่ง แต่แข่งขันสูง : นโยบายภาครัฐควรเน้นพัฒนาความสามารถในการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และความได้เปรียบในการแข่งขัน ขณะที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวชูจุดแข็งของสินค้าและเจาะตลาดเป้าหมาย รวมถึงวางกลยุทธ์เพิ่มส่วนแบ่งตลาด และปรับสินค้าให้ทันเทรนด์โลก

2) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตเก่ง และการแข่งขันไม่สูง : นโยบายภาครัฐควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกเปิดตลาดใหม่กระจายความเสี่ยง และยกระดับกระบวนการผลิตตามมาตรฐานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวลดความเสี่ยงจาก Climate change และลงทุนพลังงานหมุนเวียน

3) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตไม่เก่ง แต่การแข่งขันไม่สูง : นโยบายภาครัฐควรให้สิทธิประโยชน์จูงใจให้ดำเนินธุรกิจเดิม แต่ลงทุนเพิ่มศักยภาพการผลิต มุ่งตลาดส่งออกที่มีอยู่ ขณะที่ภาคธุรกิจควรปรับตัวเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีการผลิตและสร้างความเข้าใจในตลาดขั้วสหรัฐฯ และขั้วจีนเพื่อเข้าถึงความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น

4) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตไม่เก่ง และแข่งขันสูง : นโยบายภาครัฐควรช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านไปยังภาคการผลิตที่มีศักยภาพในการเติบโตบนห่วงโซ่การผลิตใหม่ได้ ขณะที่ภาคธุรกิจควรเร่งปรับตัวสู่ห่วงโซ่การผลิตใหม่และหาพันธมิตรด้านเทคโนโลยีสนับสนุน

 

 

Despite a fragile and uncertain economic recovery, Thai manufacturing sector still has opportunities from global decoupling.

 

The global economy in 2024 and 2025 is expected to grow steadily at 2.7%, albeit remaining below the pre-COVID-19 pace. The US economic outlook for 2024 has significantly improved thanks to robust domestic demand. In Asia, China's economy exhibits promising prospects from the manufacturing sector and economic stimulus measures, while India and ASEAN economies will continue their growth trajectory. On the other hand, the Eurozone and Japan are likely to experience subdued growth. In 2025, we expect a shift in global economic drivers. ASEAN economies will continue acceleration. India will maintain buoyant growth despite a slight slowdown. The Eurozone and Japan will improve with modest rebound. In contrast, the US economy will experience slower growth, while structural issues in China will hamper growth. The global economy is expected to decelerate in the medium term due to emerging challenges, particularly China's structural problems and escalating geopolitical tensions. Upcoming elections worldwide this year will also heighten policy uncertainties for each country. Notably, the US presidential election in November could fuel uncertainties over global economic and trade policies, potentially deterring the global supply chain.

As inflation subsides, major central banks gradually cut their policy rates—led by the ECB and BOC. The Fed and BOE are expected to reduce policy rates in H2/2024, during which we anticipate another BOJ rate hike following an upward revision of medium-term inflation forecasts.

Based on SCB EIC assessment, the Thai economy will slowly regain momentum, achieving 2.5% growth in 2024. The service sector will primarily drive the growth alongside an upbeat rebound in foreign tourist arrivals, supported by government initiatives such as free visas and visa-on-arrival (VOA), as well as the return of Chinese tourists. Additionally, domestic travel would grow steadily, with secondary cities gaining more popularity due to government's tourism promotions. Nevertheless, Thailand's economic fundamentals still face downward pressures from several factors: (1) Limited growth in merchandise exports, partly attributed to less correlation between the recovery of Thai exports and global trade volume, with exports of steels, fruits, and HDD expected to shrink this year; (2) Gradual rebound in the manufacturing sector, which is challenged by external pressures from increased competition with Chinese imports owing to overcapacity in China, and internal pressures from domestic demand slowdown; and (3) Despite an expedited disbursement of public investment spending after over six-month delay in the 2024 budget bill, it is unlikely to offset a sharp contraction experienced in the first four months of this year. As for 2025, the Thai economy will continue to rebound with a growth rate of 2.9%, driven in part by private investment rebound and government disbursement returning to normal levels.

Looking ahead, Thai economy will face heightened fragility in both the household and business sectors. (1) Households: low-income groups are lack sufficient financial buffers, such as precautionary savings and various types of insurance. (2) Businesses: despite signs of overall recovery, some firms remain highly vulnerable—especially small businesses grappling with rising debt amid structural challenges in Thailand's manufacturing sector. Our assessment indicates that financial measures to these vulnerable groups will still take time to yield broad-based benefits.

SCB EIC expects the MPC to cut its policy rate to 2.25% by the end of 2024, with another cut to 2% expected in early 2025. Impetus from domestic demand will be hindered by household financial vulnerability, ongoing structural issues, tighter financial conditions, and heightened economic risks in 2025. The Thai baht remains highly volatile due to domestic political uncertainties and the Fed's cautious approach to cut rate, despite some economic indicators falling below market expectations. In the short term, we expect the Thai baht to gradually strengthen to 35.80-36.80 THB/USD alongside Thailand's economic recovery, with the year-end baht stabilizing around 35-36 THB/USD.

Geopolitical tensions will heighten uncertainties and accelerate global economic decoupling. However, this could present an opportunity for Thailand's industry. The global trade landscape has been evolving as many countries rely less on trading partners in the opposite geopolitic blocs and rely more on those adopting with neutral stance. Maintaining geopolitical neutrality, Thailand stands to benefit from trade and investment diversions as global decoupling continues. Nonetheless, the implications to Thai industries can be categorized into two major groups: (1) Industries poised to benefit from global economic decoupling, such as computer & electronics and automobile & parts; (2) Industries facing more intense competition from other neutral countries, particularly regional competitors in exports to the US, such as textiles and electrical appliances.

To grab opportunities amid the escalating global economic decoupling, Thailand's government policies crucially need proactive exports promotion alongside business strategies. These policies should also be tailored to manufacturing product groups in line with their specific contexts. Thus, we categorize them into four product groups based on potential gains or losses.

1) Products that Thailand excels but face intense competition: Government policies should emphasize enhancing productivity, value creation, and competitiveness. Meanwhile, Thai businesses should focus on promoting product strengths, targeting specific markets, formulating strategies to increase market share, and aligning product development with global trends.

2) Products that Thailand excels and face low competition: Government policies should encourage exporters to explore new markets for risk diversification and revamp production processes to meet environmental sustainability standards. Thai businesses should adapt by addressing climate risks and investing in renewable energy. 

3) Products that Thailand is inefficient but face low competition: Government policies should offer incentives for exporters to sustain current operations while investing in enhanced production capabilities and focusing on existing markets. Thai businesses should improve production technology and deepen the market understanding of target markets within the US and China blocs to accommodate changing in global demands effectively.

4) Products that Thailand is inefficient and face intense competition: Government policies should incentivize businesses in transitioning to high-potential sectors in the new global value chains. Meanwhile, Thai businesses should accelerate their integration into the new value chains and seek partnerships with more advanced technology.

 

----------------------------------------------------------------------------

 

ประชาสัมพันธ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

จิตตินี จอมปรัชญา โทร. 098-9235915 Email : chittinee.jompratchaya@scb.co.th

กุณฑลี  โพธิ์แก้ว  โทร. 086-1308560 Email: koontalee.pokaew@scb.co.th

 

DISCLAIMER:           This e-mail is intended solely for the recipient(s) name above.  If you are not the intended recipient, any type of your use is prohibited.  Any information, comment or statement contained in this e-mail, including any attachments (if any) are those of the author and are not necessarily endorsed by the Bank.  The Bank shall, therefore, not be liable or responsible for any of such contents, including damages resulting from any virus transmitted by this e-mail.

No comments

Powered by Blogger.