เรียน บรรณาธิการข่าว/สื่อมวลชน
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ขอส่งข่าว "บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดตัวกองทุน KKP INDIA-H และ KKP INDIA-UH เสนอโอกาสลงทุนหุ้นอินเดีย ดาวเด่นเอเชียใต้เติบโตสูง เสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 17 - 26 มิถุนายน 2567" มาเพื่อพิจารณาเผยแพร่ครับ
ขอบพระคุณครับ
ขอแสดงความนับถือ
ธนกร จ๋วงพานิช (จ๋วง)
สำนักสื่อสารองค์กรกลุ่มธุรกิจ
0840070894
บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดตัวกองทุน KKP INDIA-H และ KKP INDIA-UH
เสนอโอกาสลงทุนหุ้นอินเดีย ดาวเด่นเอเชียใต้เติบโตสูง
เสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 17 - 26 มิถุนายน 2567
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) มองเศรษฐกิจอินเดียยังแข็งแกร่ง มีศักยภาพในการเติบโต ถือเป็นโอกาสสำหรับลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้พอร์ตในระยะยาว จึงเปิดเสนอขายกองทุนหุ้นอินเดีย 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี อินเดีย เฮดจ์ (KKP INDIA-H) และกองทุนเปิดเคเคพี อินเดีย อันเฮดจ์ (KKP INDIA-UH) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก Robeco Indian Equity กองทุนนี้บริหารโดย Robeco Institutional Asset Management B.V. ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบริหารกองทุนอินเดียมายาวนาน และมีกลยุทธ์การบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active Management) ทั้งนี้ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเสนอขายกองทุนทั้งประเภทป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (HEDGED) และไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) เพื่อเป็นทางเลือกให้นักลงทุน กำหนดการเสนอขายครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 17 – 26 มิถุนายน 2567 ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท
นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า อินเดียเป็นประเทศที่มีปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว ทั้งจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่เติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ค่าแรงและอายุเฉลี่ยของประชากรที่ต่ำ ฐานะทางการคลังกลับมาเกินดุล และค่าเงินผันผวนน้อยลง ตลาดหุ้นอินเดียจึงน่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว เนื่องจากผลประกอบการของหุ้นอินเดียมีอัตราการเติบโตสอดคล้องกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในระดับสูง นักลงทุนต่างชาติให้น้ำหนักการลงทุนในอินเดียมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และแม้ว่าปัจจุบันการลงทุนในหุ้นอินเดียของผู้ลงทุนในประเทศอินเดียเองยังอยู่ในระดับต่ำแต่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการออมที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ของประชากร ด้วยเหตุนี้ ทางบลจ.เกียรตินาคินภัทร จึงได้นำเสนอกองทุน KKP INDIA-H และ KKP INDIA-UH เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนไทยที่สนใจลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว
สำหรับ กองทุน KKP INDIA-H และ KKP INDIA-UH ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก Robeco Indian Equity ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินเดีย มีกลยุทธ์การเลือกลงทุนในหุ้นที่ยืดหยุ่น (Flexi Cap Strategy) คือ กองทุนเน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ และสามารถลงทุนในหุ้นขนาดกลางได้ตามสถานการณ์เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มให้กับพอร์ตการลงทุน ตัวอย่างหุ้น 3 อันดับแรกที่กองทุนหลักลงทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2567) เช่น Infosys Ltd ผู้นำการให้คำปรึกษา และบริการด้าน IT ขนาดใหญ่ของอินเดีย HDFC Bank Ltd ธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย และ Reliance Industries Ltd บริษัทยักษ์ใหญ่ในอินเดีย มีธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจพลังงาน ปิโตรเคมี ร้านค้าปลีก บริการทางดิจิทัล สื่อ และพลังงานทางเลือก
โดย กองทุน KKP INDIA-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP INDIA-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง
ข้อมูลกองทุน KKP INDIA-H และ KKP INDIA-UH :
- เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่าง วันที่ 17 – 26 มิถุนายน 2567
- มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท
คำเตือน
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุน KKP INDIA-H จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- กองทุน KKP INDIA-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง
เกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ที่ครอบคลุมธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด โดยกลุ่มธุรกิจฯ มีเป้าหมายในการมุ่งนำทรัพยากรสู่ลูกค้าอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเปี่ยมประสิทธิภาพด้วยบริการที่เหนือความคาดหมาย ทั้งนี้ บลจ.เกียรตินาคินภัทร ประกอบธุรกิจบริหารจัดการกองทุนทุกประเภทตามที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.kkpfg.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
ธนกร จ๋วงพานิช (จ๋วง)
โทร. 084 0070894
www.kkpfg.com
DISCLAIMER :
This email may contain confidential information and is intended solely for the intended individual(s). Any persons receiving this email and any attachments contained, shall treat the information as confidential and shall not copy, disclose, distribute and misuse this information. If you are not the intended recipient, please delete all copies of this email from your computer system or notify the sender immediately. Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited makes no representation and accepts no responsibility for any mis-transmission or virus contamination of, or interference with, the E-mail, or for any loss or damage that may be incurred as a result of the use of any information contained in the E-mail. |
No comments